คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ (เจ๊ะเห) หมวดคำทั่วไป
ก
|
หมวดคำทั่วไป
|
||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ก
|
ก๋อ
|
|
|
ก็
|
กา
|
สัน,แล้ว, จึง, ย่อม, เช่น,
พอหันหน้ามาก็พบเขาทำดีก็ได้ดี.
|
|
กก
|
ก๊อก (ก๊อกค้าย)
|
ก.แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบนอน เช่น กกไข่
|
|
ก๊ก
|
ก่อก
|
น.พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า
เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า
|
|
กง
|
ก๊ง (ก๊งล่อ)
|
น.วง,
ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถ
|
|
กงการ
|
ก๋งก๋าร
|
น.กิจการ, หน้าที่, ธุระ
|
|
กงสี
|
ก็องซี
|
น.ของกองกลางที่ใช้รวมกันสำหรับคนหมู่หนึ่งๆ,หุ้นส่วน, บริษัท
|
|
กงสุล
|
ก็องซุน,ก็องสุ่น
|
น.เจ้าพนักงานที่รัฐบาลส่งไปดูแลผลประโยชน์และคนในบังคับซึ่งอาศัยในประเทศอื่น
เช่น กงสุลฮอลันดา ก็คือเจ้าพนักงานที่รัฐบาลฮอลันดาส่งมาประจำในประเทศไทย
|
|
ก่ง (ก่งธนู)
|
โก๊ง(โก๊งถื่อนู)
|
ก.ทำให้งอเป็นรูปโค้ง, ทำให้โค้ง, เช่น ก่งศร
|
|
ก้งโค้ง
|
โกงโค่ง
|
ก.โก่งก้นให้โด่ง,
โน้มตัวลงยกก้นให้สูงขึ้น, โก้งโค้ง ก็ว่า
|
|
กฎ,กด
|
ก็อด
|
ก.จดไว้เป็นหลักฐาน. น. ข้อกำหนด, ข้อบังคับ
|
|
ข
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ข
|
ค^อ
|
|
|
ขจัด
|
คื^อจัด
|
ก.กำจัด, ขับไล่
|
|
ขจาย
|
กือจ๋าย, คึ^อจ๋าย
|
ก.กระจาย , ขจรขจาย
|
|
ขจุย
|
กือจุย,คึ^อจุ๋ย
|
ก.กระจุย
|
|
ขด
|
ข็อด
|
น.ม้วน ก.วง,ขด
|
|
ข้น
|
ค^อน(เสียงสั้น)
|
ว.เข้มข้น เช่น
การหลนหมายถึงการทำอาหารให้สุกด้วยการใช้กะทิข้นๆ
|
|
ขนม
|
คื^อหนม
|
น.ของหวาน,อาหารหวาน
|
|
ขนมจีน
|
คื^อหนมจี๋น
|
น.อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลมๆ คล้ายเส้นหมี่
กินกับน้ำยาน้ำพริก
|
|
ขนมปัง
|
คื^อหนมปั่ง
|
น.อาหารชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งผสมเชื้อ เรียกว่า ขนมปัง
|
|
ขนมฝักบัว
|
คื^อหนมจ๋น
|
น.อาหารชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นวงกลม เป็นการนำแป้ง
แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลปื๊บ หรือน้ำตาลมะพร้าวและกะทิ ผสมให้เข้ากัน
|
|
ขนมใสใส้
|
คื^อหนฮ้อ
|
น.เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ
ลักษณะห่อด้วยใบตอง เป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้
รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ
|
|
ค
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
คณะ
|
ขณะ
|
น.ฝูง; แผนกวิชาในมหาวิทยาลัย; หมู่, พวก
|
|
คน
|
ก๋วน
|
ก.กวนให้ทั่ว, เอามือหรือไม้กวานสิ่งของไปรอบๆ
ในภาชนะหรือในบางแห่ง
|
|
ค้น
|
ค^อน(เสียงสั้น)
|
ก.พยายามหาให้พบโดยวิธีสืบ เสาะ แสวง
|
|
ครรภ์
|
พุงย้าย
|
น.สัตว์มีท้อง
|
|
ครรภ์
|
ขี่อฆ็อง
|
น.สัตว์มีท้อง
|
|
ครอก
|
ขรอก
|
น.ลูกของสัตว์ที่ออกมาคราวเดีวยกันหลายตัว เช่น
ลูกไก่และลูกสุนัขเป็นต้น, บ่าว, ทาส ว.เสียงนอนกรน,เสียงลิงขู่ตะคอก
|
|
ครอบ
|
ขรอบ
|
ก.งำ,ปิด;สวม; ถ่ายให้,ประสิทธิ์วิชาให้เช่น ครูครอบศิษย์
|
|
ครั้น
|
ครั่น
|
ว.เมื่อ. ครั้นแล้ว ว.ต่อจากนั้น, ดังนั้น
|
|
คร่า
|
ขร่า
|
ก.ฉุด, รั้ง, ดึง, ลาก
|
|
คราบ
|
ขราบ
|
น.รอยเปื้อน, รอยสกปรก, รอยด่าง,
หนังหรือเปรือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้
|
|
คร้าม
|
คร่าม
|
ก.ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง
|
|
ครำ
|
น่ามคี^กลำ
|
น.เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว
ในท่อระบายน้ำเสีย
|
|
คร่ำ
|
น่ามขร่ำ
|
ว.น้ำหุ้นห่อเด็กในครรภ์
|
|
ครีบ
|
ขรีบ
|
น.อวัยวะของปลาที่ติดกันเป็นพืดอยู่ตามใต้ท้องและส้นหลัง; เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ครีบตาล
|
|
ครึกครื้น,ครื้นเครง
|
ซือหนุก
|
ว.เสียงดังครึกคริ้น, สนุกสนาน
|
|
ครึกโครม
|
โช้,โช้หาย
|
ว.อึกทึก อื้ออึง ชวนให้ตื่นเต้น
เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย
|
|
ครึ่ง
|
ขรึ่ง
|
ว.กึ่ง,1 ใน 2.ครึ่งๆ กลางๆ ว. ไม่ตลอด, ไม่จบ
|
|
ครื้ม
|
ครึ่ม
|
ว.ครึ่มอกครึ้มใจ, ครึ้มฝน
|
|
ครุ
|
โขระ
|
น.ภาชนะสานรูปกลม ยาด้วยชั้น ใช้ตักน้ำ
|
|
ง
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
งก
|
ง็อก, ด่าวา (ทับศัพท์มลายู)
|
ก.แสดงอาการอยากได้หรือไม่อยากเสียจนเกินควร.
|
|
งกเงิ่น
|
ชั้น
|
ว.ตัวสั่น,
มีอาการสั่นอย่างคนแก่หรืออย่างกลัวหรืออย่างหนาวมาก
|
|
งง
|
ซ้งสัย,แบ่ง็อก (ทับศัพท์มลายู)
|
ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน,
ทำอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติไม่อยู่
|
|
งด
|
ง้อด,หละ,แว่น (เสียงสั้น)
|
ก.หยุดหรือเว้น คือ ไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ
เช่น ผุ้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่ง
|
|
งบ
|
ง้อบ (น่ามผึ้งง็อบ)
|
น.แผ่นกลมอย่างงบน้ำอ้อย
|
|
ง่วง
|
เหานอน,หาวนอน
|
ก.หาวนอน,อยากนอน
|
|
งวด
|
หงวด
|
น.คราวที่กำหนด เช่น
การอออกรางวัลสลากกินแบ่งออกเป็นงวด, ลักษณนามเรียกจำนวนนับคราวที่กำหนด เช่น
แบ่งการชำระหนี้ออกเป็น ๕ งวด, ก. ลดลงไป, พร่องลงไป,
แห้งลงไป
|
|
ง่วน
|
เพลิน
|
ว.เพลินทำเพลินเล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
|
|
ง้อ
|
ง่อ
|
ก.ขอคืนดีด้วย, ขอพึ่งพาอาศัย
|
|
งอก
|
หงอก
|
ก.อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก,แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก: เพิ่มปริมาณมากขึ้น
(ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก;
เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นง้ำออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
เรียกต้นอ่อนที่งอกออกจากผลบางชนิดมีผลมะพร้าวเมล็ดตาลเป็นต้นว่า งอกมะพร้าว
งอกตาล
|
|
งอแง
|
ก๋วน,คี^ร่อง,คี^วี้ด
|
ว.ขี้แย, ขี้อ้อน, (ใช้แก่เด็ก);รวน,
บิดพลิ้ว; เอาใจยาก
|
|
ง่อน
|
ฉื่อหง่อนหีน, หง่อนหีน
|
น.ก้อนดินหรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป
|
|
ง่อนแง่น
|
คลอนแคลน
|
ว.คลอนแคลน, ไม่แนน, ไม่มั่นคง
|
|
ง่อย
|
หง่อย,เป๊าะ
|
ว.อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ,
ง่อยเปลี้ยวเสียขา ว.
มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปกรติ
|
|
งัด
|
งั่ด
|
ก.ทำให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น
งัดตะปู งัดซุง
|
|
จ
|
||||||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
||||
จ
|
จ๋อ
|
|
||||
จงใจ
|
จ๋งใจ๋
|
ก.ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา
|
||||
จงกรม
|
จ๋งกร๋ม
|
ก.เดินไปมา, เดินเปลี่ยนอริยาบถ.
|
||||
จด
|
จ๊อด
|
ก.หมายไว้ , เขียนไว้.
|
||||
จตุปัจจัย
|
จตุ๊ปัจจั่ย
|
น.เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔
อย่างคือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา)
|
||||
จบ
|
จ็อบ
|
น.การสิ้นสุดคราวหนึ่งๆ, ลักษณะนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น
เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่งๆ เช่น จบชั้นไหน
|
||||
จม
|
จ๋ม
|
ก.หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมน้ำ จมดิน
|
||||
จมูก
|
จือมู้ก
|
น.อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู
สำหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก
|
||||
จรวด
|
จร๊าด,จือร๊วด
|
น.ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว
เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง,
อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมากโดยใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย
|
||||
จราว
|
ตือก๋าว
|
น.ตะพาบน้ำ
|
||||
จริง
|
จิ๋ง
|
ว. แน่ เช่น
ทำจริง ชอบจริงๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น
ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้
ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง ,
เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง
|
||||
จวก
|
จ๊วก (จีวกดิ่น)
|
ก.สับหรือฟันโดยแรงด้วยจอบ
|
||||
จ๊วก
|
ขาวโจ๊หวัด
|
ว.เป็นคำแต่งคำ ขาว ให้รู้ว่าสีขาวจริงๆ
|
||||
จวน
|
แข่ (แข่จีทิ้ง)
|
ว.ใกล้, เกือบ เช่น เกือบถึงบ้าน
|
||||
จ่อ
|
จ๊อ
|
ก.จดกัน, มุ่ง
|
||||
ฉ
|
||||||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
||||
ฉก
|
ซึง, ซ้วย
|
ก.ฉวยเอา, แย่งเอา, วิ่งราว, ชิงเอา
|
||||
ฉงน
|
ซ้งสัย
|
ก.เอะใจ, คลางแคลงใจ, สงสัย
|
||||
ฉนาก
|
ซือน้าก
|
น.ชื่อปลาเค็มตัวคล้ายปลาฉลาม ปากเป็นฟันเลื่อย
|
||||
ฉบับ
|
ซือบั^บ
|
น.แบบ,เรื่อง;เล่มหนังสือ,
แผ่นจดหมาย.
|
||||
ฉมวก
|
ซือม้วก
|
น.เครื่องมือแทงปลาเป็นต้น มีง่ามเป็น ๑,๓ หรือ ๕ ขา
ที่ปลายขาที่ทำเป็นเงี่ยง มีด้ามยาว.
|
||||
ฉลาก
|
ซือล้าก
|
น.สลาก, เครื่องหมายแทนสิ่งของสำหรับจับเสี่ยงทาย; ป้ายบอกชื่อ เช่นฉลากยา
|
||||
ฉลาด
|
ซือล้าด
|
ก.เก่ง
|
||||
ฉลาม
|
ซือหลาม
|
น.ชื่อปลาน้ำเค็มปากคม เป็นปลาที่ดุร้าย กินคนและสัตว์
|
||||
ฉลู
|
ซือหลู
|
น.ชื่อปีที่ ๒ ของรอบปีนักษัตร มีวัวเป็นเครื่องหมาย.
|
||||
ฉวย
|
ช้วย
|
ก.คว้า จับ หรือหยิบเอาโดยเร็ว.
|
||||
ฉ้อ
|
ซ^อ
|
ก.โกงเอาด้วยกิริยายักยอกหรือปิดบัง,
บางทีพูดควบกับคำอื่นว่า ฉ้อโกง
|
||||
ฉอด
|
ช้อด(ทือแหลงช้อดๆ)
|
ว.พูดคล่อง, บางทีซ้ำคำว่า ฉอดๆ
|
||||
ฉอเลาะ
|
ทำดี๋, ปรือจ็อบ
|
ว.พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทำนองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดู
(มักใช้เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง)
|
||||
ฉัน
|
ฉาน,ค^า
|
ส.ข้าพเจ้า, ช้า, (เป็นคำแทนชื่อผู้พูด)
|
||||
ฉับ
|
ฉับ
|
ว.อาการที่พูดหรือฟันเป็นต้นอย่างเร็ว เช่น ฉับ พูดฉับๆ
|
||||
ฉ่า
|
ช้า
|
ว.เสียงอื้ออึง;เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดสิ่งของ;เสียงลูกคู่เพลงฉ่อยหรือเพลงลำตัด ร้องรับ จังหวะ
|
||||
ฉาด
|
ช้าด,ผาง
|
ว.สียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดังเมื่อตบหน้าโดยแรง
|
||||
ฉาบ
|
ช้าบ
|
น.เครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง
ทำด้วยโลหะรูปร่างเป็นแผ่นกลมคล้ายจานแต่มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลาง
เจาะรูตรงกลางปุ่มไว้ร้อยเชือกหรือเส้นหนังสำหรับถือตี: ก.
ทา เกลือก
หรือเคลือบแต่ผิวๆ เช่น ฉาบปูน ฉาบกล้วย
|
||||
ฉาว
|
โช้
|
ว.อื้ออึง,เอิกเกริก,เกียวกราว
|
||||
ฌ
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ฌาปนกิจ
|
เผาส็อบ
|
น.การเผาศพ
|
|
ฌาปนสถาน
|
เถ่เผาส็อบ
|
น.ที่เผาศพ, บริเวณที่ตั้งเมรุเผาศพ
รวมทั้งที่ตั้งสำนักงานจัดการเผาศพ ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นด้วย
|
|
ญ
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ญาติ
|
หยาด, ผี่น่อง
|
น.ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา
|
|
ญัตติ
|
ซ้วดญั่ต
|
น.คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจขิงสงฆ์ร่วมกัน
|
|
ฎ
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ฏีกา
|
ดี่ก๋า
|
น. หมายเหตุ, คำอธิบายคำยาก; หนังสือเขียนอาราธนานิมนต์พระสงฆ์; ใบบอกบุญเรี่ยไร; ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากกองคลัง; คำร้องทุกข์ที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์;คำร้องทุกข์หรือคำคัดค้านที่ยื่นต่อศาลสูงสุด ชื่อว่า ศาลฎีกา; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่สำหรับแก้หรืออธิบายคัมภีร์อรรถกถา; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนา จารึกคำสอนในพระพุทธ-ศาสนา
|
|
ด
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ด
|
ด๋อ
|
|
|
ดก
|
ด็อก
|
ว.มาก, มากกว่าปรกติ,
(มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ
เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่าปรกติเรียกว่า ไข่ดก,
หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า ลูกดก, คนที่มีผมมากกว่าปรกติ
เรียกว่าผมดก
|
|
ดง
|
ด๋ง(ป๊า,ป๊าดง)
|
น.ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น เช่น ขึ้นเป็น
|
|
ดง
|
ยง
|
ก.เอาหม้อข้าวที่เช็ดน้ำข้าวแล้วตั้งไฟอ่อนๆ
เพื่อให้ระอุ (ทางตากใบ เขาหุงข้าวไม่เช็ดน้ำ เมื่อหม้อเดือด จะนำฟืนที่ก่อไฟออกบ้างส่วน
เปิดฝา แล้วใช้ไม้ฟายเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า
“ ม่ายสื่อแด็ด” ลงไปคนให้ทั่วทำเช่นนี้
เรียกว่า “ยง” แล้วปิดฝา ก็จะสุกเอง)
|
|
ต้น
|
ด็อน
|
ก.สอยผ้า, ห้าวหาญ
|
|
ดวง
|
ด๋วง
|
น.รอยกลม,รูปกลม;แบบที่วางชะตาของคนหรือบ้านเมือง;คำเรียกสิ่งที่มีรูปกลมๆ เช่น ดวงตรา
|
|
ด้วง
|
ด^วง
|
น.ตัวหนอนที่กินเนื้อต้นมะพร้าว
|
|
ด่วน
|
ด๊วน,กือด๊วน
|
ว.รีบเร่ง,รวดเร็ว
|
|
ด้วน
|
ด^วน
|
ก.กุด, ขาด, สั้นเข้า,. ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาวๆ ที่ตอนปลายขาดหายไป เช่น แขนด้วนขาด้วน
|
|
ด้วย
|
ด^วย,ด๋า
|
ว.คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกันเช่น
กินด้วย,แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ.
คำนำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทำ เช่น ฟันด้วยมีด
|
|
ดอก
|
ด็อก
|
น.ส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่ผลิตออกจากก้านเพื่อสืบพันธุ์; ลายรูปกลมๆ ตามผืนผ้า เป็น.
|
|
ต
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ต.เต่า
|
ต๋อ(ต๋อต๊าว)
|
|
|
ตง
|
ต๋ง
|
น.ไม้เครื่องเรือนที่วางทับบนรอด สำหรับรองพื้นหรือฟาก;ชื่อไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง เรียก ไม้ไผ่ตงลำต้นใหญ่ ไม่มีหนาม
|
|
ต๋ง
|
ต๋อง(ข่าต๋อง)
|
ก.ชักเอาเงินไว้จากขาไพ่ที่เป็นผู้กินหรือลูกค้าที่แทงถูกในการพนันบางชนิด
เช่น ถั่ว โป
|
|
ตงิด
|
งิ๋ดงิ๋ด
|
ว.เล็กน้อย, ทีละน้อยๆ,
พอรู้สึกเล็กน้อยว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นอาการทางกายหรือเป็นอาการทางจิต
เช่น รู้สึกหิวตงิดๆ รู้สึกโกรธตงิดๆ
|
|
ตด
|
ต็อด
|
น.ลมที่ออกจากทวารหนัก; ก. ผายลมให้ออกจากทวารหนัก
|
|
ตถาคต
|
ต๊ะถาค็อด
|
น.ผู้บรรลุสัจธรรมถึงความเป็นไปอย่างนั้น, พระนามพระพุทธเจ้า,
พระนามที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้ามีต่างๆ กัน เช่น พระพุทธเจ้า พระทศพล พระศาสดา
พระสัพพัญญู พระผู้มีพระภาคเจ้า พระโลกนาถ พระสุคต พระธรรมราชา พระ มหามุนี
พระธรรมสามี พระสยัมภู พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระชิน พระโคดม พระศรีศากยมุนี
|
|
ต้น
|
ต็อน
|
น.โคน, ลำ
|
|
ตบ
|
ต็อบ
|
น.ชื่อผักชนิดหนึ่งในน้ำ ดอกสีขาว เรียกว่าผักตบชวา, ก. ตีด้วยฝ่ามือ หรือตีด้วยของแบนๆ
|
|
ต้ม
|
ต็อม
|
ก.กริยาที่เอาของเหลวเช่นน้ำใส่ภาชนะแล้วทำให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุกเช่น
ต้มน้ำต้มข้าว ต้มมัน;ทำให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า
ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว
เช่น น้ำต้ม ข้าวต้ม มันต้ม
|
|
ตรึง
|
ตรึ๋ง,กริ๋ง
|
ก.ทำให้อยู่กับที่ เช่น ตรึงตะปู ตรึงที่นอน
ตรึงข้าศึก, ทำให้อยู่คงที่ เช่นตรึงราคาสินค้าไว้, ติดอยู่ เช่น ตรึงใจ
|
|
ตรู่
|
ข่าวหมืด
|
น.เวลาสางๆ, เช้าตรู่
|
|
ตลิ่ง
|
ตือลิ้ง,ลิ้ง
|
น.ส่วนของฝั่งที่ไม่ลาดริมน้ำลำคลอง
|
|
ท
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ทด
|
ท็อด
|
ก.กันไว้, กั้นไว้,
ทำให้น้ำท่วมทันขึ้นมาด้วยทำนบเป็นต้น เช่น ทดน้ำ; แทน,
เป็นคำใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็นตอบแทน, น.สิ่งที่ใช้กั้นน้ำ
|
|
ทน
|
ถัน
|
ก.อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว,
ไม่แตกหักหรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่ากว่าไม้ยาง. ว.แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน , อึด เช่น
วิ่งทนดำน้ำทน
|
|
ทนาย
|
ถื่อนาย,หมอความ
|
น.ทนายความ มีความหมายว่า
ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าความแทนคู่ความในศาล
|
|
ทบ
|
ท็อบ
|
ก.พับเข้ามา เช่น ทบผ้า ทบเชือก
|
|
ทรมาน
|
หอหร่ามาน
|
ก.ทำให้ลำบาก, ทำทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์
|
|
ทรัพย์
|
ซั่บ
|
น.เงินตรา
|
|
ทราบ
|
โร่,สาบ
|
ก.รู้ (ใช้ในความสุภาพ) เช่น
ทราบข่าวได้รับทราบแล้วเรียนมาเพื่อทราบ
|
|
ทรุด
|
ซุด
|
ก.จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกำลังต้านทานไม่พอ
เช่น กำแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ตกต่ำกว่าเดิม เช่น
ฐานะทางเศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิมว่า ไข้ทรุด
|
|
ทลาย
|
ถื่อลาย, พัง
|
ก.
อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจายเช่น กองทรายหลาย,
พังหรือทำให้พัง เช่น กำแพงทลาย
|
|
ทั่ว
|
ฉวก, ถั่ว
|
ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกหนทุกแห่ง, เช่น ทั่วตัว
ทั่วโลก ทั่วหน้า
|
|
ท้วง
|
ท่วง
|
ก.พูดเป็นทำนองไม่เห็นด้วย
|
|
ทวด
|
ถวด
|
น.พ่อหรือแม่ของปู่ ย่า ตา ยาย
|
|
ท้วน
-อ้วนท้วน
|
ท่วน
-อ^วนท่วน
|
ว.อ้วนแข็งแรง, ใช้พูดประกอบกับคำ อ้วน เป็น อ้วนท้วน
|
|
ทวาย
|
ถื่อวาย
|
น.คนพวกยะไข่ในปรพเทศพม่า
|
|
ธ
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ธนาคาร
|
ถ่านาคาร,ถื่อนาคาร
|
น.นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย
บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อว่าธนาคาร
ซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินและธุรกิจหลักทรัพย์
|
|
ธนาณัติ
|
ถ่านานั่ด,ถื่อนานั่ด
|
น.ตราสารซึ่งที่ทำการไปรษณีแห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทำการไปรษณีอีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน
|
|
ธนู
|
ถื่อนู(โหลกถื่อนู)
|
น.อาวุธประกอบด้วยคันยิง และลูก พวกเดียวกับศ
|
|
ธรณี
|
ทอหร่านี
|
น.พื้นดิน,ที่ดิน,ปฐวี,แผ่นดิน
|
|
ธรรม
|
ธรรมหมะ
|
น.คำสั่งสอน,คุณความดี,หลักธรรมะ
|
|
ธรรมคุณ
|
ธรรมม่ะคุณ
|
น.บทแสดงคุณของพระธรรม
|
|
ธรรมชาติ
|
ธรรมม่ะฉาด
|
น.สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น
|
|
ธรรมดา
|
ธรรมม่ะดำ
|
ว.ปกติ
|
|
ธรรมบท
|
ธรรมม่ะบ็อด
|
น.ข้อแห่งธรรม, ชื่อคาถาบาลีคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย
|
|
ธรรมบาล
|
ธรรมม่ะบ๋าน
|
น.ผู้รักษาธรรม
|
|
ธรรมยุต
|
ธรรมม่ะยุ่ด,ธรรมยุ่ด
|
น.ชื่อนิกายหนึ่งของพุทธศาสนา
|
|
ธรรมวัตร
|
ธรรมวั่ด
|
น.ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไปไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ.
|
|
ธรรมศาสตร์
|
ธรรมม่ะช้าด
|
น.ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป
|
|
ธรรมาสน์
|
ธรรมหมาด
|
น.ที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม
|
|
ธัญพืช
|
ค^าวกลา
|
น.พืชล้มลุกหลายชนิดหนึ่ง เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด
ให้เม็ดเป็นอาหารหลัก
|
|
ธาดา
|
ธาด๋า
|
น.ผู้สร้าง,ผู้สรรค์, ผู้รังสกฤษฏ์
|
|
ธาตรี
|
ธาตรี๋
|
น.แผ่นดิน, โลก
|
|
ธาตุ
|
ถาด
|
น.สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย
โดยทั่วๆ ไปเชื่อว่ามี 4 ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ธาตุลม
,สามเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส
|
|
ธำมรงค์
|
แหวน
|
น.แหวน,วงแหวน
|
|
น
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
นคร
|
น่ะคอน
|
น.เมือง,บุรี
|
|
นบ
|
น็อบ
|
ก.ไหว้, นอนน้อม
|
|
นพคุณ
|
น็อบพ่ะคุณ
|
น.ทองเนื้อเก้า, ทองนพคุณเก้าน้ำ
|
|
นพเคราะห์
|
น็อบพ่ะเขราะ
|
น.ชื่อดาวพระเคราะห์ทั้ง 9 มี
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัส ราหู ศุกร์ และเกตุ
|
|
นพรัตร์
|
น็อบพ่ะรั่ด
|
น.แก้ว 9 อย่าง คือ เพชร ทับทิม
มรกต บุษราคัมโกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์
|
|
นมัสการ
|
น่ะมัดสะก๋าน
|
ก.การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้
|
|
นรก
|
น่าร็อก,หน่าร็อก
|
น.แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ
|
|
นรา
|
น่ารา,หน่ารา
|
น.คน
|
|
นวโกวาท
|
น่ะว่ะโกหวาด
|
น.โอวาทเพื่อผู้บวชใหม่
|
|
นวด
|
หนวด
|
ก.ใช้มือบีบหรือกดคลึงแรงๆ
|
|
น่วม
|
หน่วม
|
ก.อ่อนนุ่มจนเกือบเหลว
|
|
นวยนาด
|
นวยหนาด, เดิ่นหนาด
|
ก.ดินทอดน่อง, เยื้องกราย,กรีดกราย
|
|
นอก
|
หนอก
|
บ.ข้างนอก, ตรงกันข้ามกับใน
|
|
นอกชาน
|
น็อกชาน
|
น.พื้นเรือนนอกชายคา, พื้นที่นอกตัวเรือน
|
|
น่อง
|
ปลี๋แข่ง,หน่อง
|
น.กล้ามเนื้อเนื้อที่อยู่ด้านหลังหน้าแข็ง
|
|
น้อง
|
น่อง
|
น.ผู้ร่วมสายเลือด แต่เกิดทีหลัง
|
|
นอบ
|
หนอบ
|
ก.น้อมกายลงไหว้
|
|
นอบน้อม
|
หนอบน่อม
|
ก.อาการซึ่งแสดงความเคารพอย่างสูง
|
|
น้อม
|
น่อม
|
ก.ก้มลง
|
|
น้อย
-น้อยใจ
-น้อยมาก
|
น่อย,อี๊ดนึ้ง
-น่อยใจ๋
-อี๊กนึ้งแรง
|
ว.นิดหน่อย, น้อยนิด
|
|
นะ
|
หนะ
|
ว.คำประกอบท้ายคำอื่น บอกความเป็นเชิงอ้อนวอน
บังคับตกลง หรือเน้นให้หนักแน่น เป็นต้น
|
|
พ
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
พจนา
|
พ็อดจ่ะนา
|
น.การเปล่งวาจา, การพูด
|
|
พจนานุกรม
|
พ็อดจ่ะนานุ่กร๋ม
|
น.หนังสือว่าด้วยถ้วยคำในภาษาใดภาษาหนึ่งเรียงตามลำดับตัวอักษร
โดยทั่วๆ ไปจะบอกความหมายและที่มาของคำไว้ด้วย
|
|
พญา
|
พ่ะยา,ผื่อยา
|
น.เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย;
ผู้เป็นใหญ่ , ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้นำหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์
|
|
พ่น
|
ผ่อน(เสียงสั้น)
|
ก.เป่าของออกจากปาก,
เอาของออกจากปาก,พูดมากหรือพูดโอ้อวด
|
|
พ้น
|
โพ่น
|
ก.อาการที่ผ่านหรือหลุดออกไปอยู่นอกเขตหรือเลยที่กำหนดไว้
เช่น พ้นอันตราย พ้นกิเลส พ้นทุกข์ พ้นเกณฑ์ พ้นตัว พ้นบ้าน.ว. นอกเขตออกไป เช่น ข้ามพ้น หลุดพ้น
|
|
พ้นเคราะห์
|
โพ่นเขราะ
|
ก.ผ่าน,หลุด,เหลือ
|
|
พนัก
|
ผื่อนั่ก
|
น.เครื่องสำหรับพักสำหรับพิง เช่น พนักเก้าอี้
|
|
พนัง
|
ทำน็อบ
|
น.ทำนบขนาดใหญ่
|
|
พนัน
-เล่นการพนัน
|
ผื่อนัน
-แล็นเบี^ย
|
ก.เล่นเอาเงินหรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาดความชำนาญ
เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือรวมทั้งโชคด้วย.น.การเล่นเช่นนั้น เรียกว่า การพนัน
|
|
พบ
|
พ็อบ
|
ก.ปะ,เจอะ
|
|
พยศ
|
ผือย็อด
|
ก.แสดงอาการดื้อหรือถือตัวไม่ยอมทำตาม.
|
|
พยัก
|
ผื่อยั่ก
|
ก.อาการที่ก้มหน้าลงเล็กน้อยแล้วเงยหน้าขึ้นโดยเร็วเป็นการแสดงความรับรู้เรียกว่า
พยักหน้า
|
|
พยาน
|
ผื่อยาน,สักสี(สักซี)
|
น.หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง,
ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้;บุคคลซึ่งให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็นได้ยิน
หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น
|
|
พยาบาท
|
พยาบ๊าด,ผื่อยาบ๊าด
|
ก.ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ปองร้าย
|
|
พยาบาท
|
พยาบ๊าด,ผื่อยาบ๊าด
|
ก.เอื้อเฟื้อเลี้ยงดูเป็นพิเศษ;
ดูแลรักษาคนไข้,ปรนนิบัติคนไข้
|
|
ฟ
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ฟก
|
ฟ่อก(เสียงสั้น)
|
ว.บวม,ช้ำ, อ่อนเพลียมาก
|
|
ฟอก
|
ฝอก
|
ก.ทำให้สะอาดหมดจด
|
|
ฟ้อง
|
ฟ่อง(เสียงยาว)
|
ก.กล่าวหาหรือกล่าวโทษต่อผู้ใหญ่หรือต่อศาล เช่น
ฟ้องศาล, แสดงให้รู้ เช่น มีหลักฐานฟ้องอยู่ในตัว
|
|
ฟ่อน
|
มั่ด
|
น.หญ้าหรือต้นข้าวจำนวนมากที่เอามารวมกันเป็นมัดใหญ่ๆ
|
|
ฟ้อน
|
รำ
|
ก.รำ,เยื้องกราย
|
|
ฟัก
|
ฟั่ก
|
ก.กกไข่ให้เป็นตัว, ทำให้ไข่อบอุ่นเพื่อให้เป็นตัว
|
|
ฟักเขียว
|
โหลกน่ามต่าว
|
น.ผักต้นเป็นเถา ผลแป้นๆ เป็นพูๆ
เนื้อในสีเหลือง(เหมือน ฟักเหลือง)
|
|
ฟัด
|
ฟั่ด
|
ก.กัดเหวี่ยงหรือสะบัดไปมา เช่น ถูกหมาฟัด, เหวี่ยง
เช่น ถูกรถฟัดเสียสะบักสะบอม; ต่อสู้ เช่นเด็กฟัดกัน
|
|
ฟ้า
-ฟ้าร้อง
-ฟ้าแลบ
|
ฟ่า
-ฟ่าหลั่น
-ฟ่าแหลบ
|
น.ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น
ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ฟ้าร้อง ฟ้าแหลบ
|
|
ฟาก
|
ฝาก
|
น.ลำไส้ไผ่เป็นต้นที่ผ่าแล้วสับให้แตกออกเป็นอันเล็กๆ
แต่ไม่ขาดจากกัน แล้วแบคว่ำออกเป็นแผ่นโดยมากใช้ปูเป็นพื้นเรือน เรียกว่า
ฟากสับ, ส่วนที่ทำเป็นซี่แล้วใช้หวายหรือเถาวัลย์ถักให้ติดกันเป็นผืน
เรียกว่าฟากซี่ หรือซี่ฟาก,ฝั่ง ,ข้าง, เช่น อยู่ฟากนี้ เรือข้ามฟาก ฟากฟ้า
|
|
ฟาด
|
ฝาด
|
ก.หวด,เหวี่ยง, เช่น ฟาดด้วยไม้เรียว จระเข้ฟาดหาง; (ปาก) กินอย่างเต็มที่เช่น ฟาดข้าวเสีย 3 ชาม
|
|
ฟื้น
|
ฟื่น
|
ก.กลับคืนมาใหม่ เช่น ฟื้นความทรงจำ ฟื้นสติ,
คืนความรู้สึก เช่น ฟื้นจากสลบ
|
|
ฟุ้ง
|
ฟุ่ง
|
ก.ตลบไป เช่น หอมฟุ้ง กลิ่นฟุ้ง , ปลิวไป , กระจายไป,
เช่น ฝุ่นฟุ้ง.ว. มากเกินควร (ใช้แก่กริยาคุย)
เช่น คุยฟุ้ง
|
|
ฟูก
|
โผก,เบ๊าะ
|
น.ที่นอนที่ยัดด้วยนุ่นเป็นต้น มักทำเป็นลูกฟูก
|
|
ย
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
ยกเลิก
|
ย่องเหลิก
|
ก.เอาออก, ถอนออก,ไม่ใช้
|
|
ยกเว้น
|
ย่อกแว่น(เสียงสั้น)
|
ก.ไม่เกี่ยวด้วย, กันเอาออก, ยอมให้เป็นพิเศษ. บ.บอกจาก, เว้นแต่, เว้นเสียแต่
|
|
ยงโย่
|
โกงโค้ง
|
ก.กิริยาที่นั่งยองๆ หรือยืนขยับตัวขึ้นๆ ลงๆ ก้มๆ
เงยๆ ไม่เป็นระเบียบ
|
|
ยถกรรม
|
ต๋ามบุ๋นต๋ามก๋ำ
|
ว.ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป
|
|
ย่น
|
ย็อน
|
ก.ร่นให้สั้นหรือให้เร็วเข้า เช่น ย่นหนทาง ย่นเวลา,
หดร่นเข้าไป เช่น คอย่น , ร่นเป็นริ้วรอย เช่น หน้าย่น, ไม่เรียบ เช่น
เสื้อผ้าย่อน
|
|
ยมทูต
|
ยมม่ะถูด
|
น.ผู้นำคนตายไปยังบังลังก์พญายมเพื่อรอคำตัดสิน
|
|
ยมบาล
|
ยมม่ะบ๋าน
|
น.เจ้าพนักงานเมืองนรก
มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรกตามคำสั่งของพญายม
|
|
ยมราช
|
ยมม่ะหราด
|
น.เทพผู้เป็นใหญ่ประจำยมโลก
|
|
ยมโลก
|
ยมม่ะโหลก
|
น.โลกของพระยม;โลกของคนตาย
|
|
ยวบ
|
หยวบ
|
ก.อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ
|
|
ย้วย
|
ย่วย
|
ก.เบี่ยงหรือเลี่ยงจากแนวปรกติ ทำให้ยาวยื่นเกินไป
เช่น กระโปรงย้วย ผ้าย้วย
|
|
ย่อท้อ
|
หย่อท่อ,ย^อท่อ
|
ก.ไม่คิดสู้เพราะขาดกำลังใจ
|
|
ยอก
|
หยอก
|
ก.ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น
หนามยอกเอาหนามบ่ง,รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมีอะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกกอก,
และหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก
|
|
ยอง
|
ย้อง
|
ว.อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง 2
โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่
|
|
ย่อง
|
หย่อง
|
ก.เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบาๆ
|
|
ยัก
|
ยั่ก(ยั่กคิ่ว)
|
ก.อาการที่คิ้วยกขึ้นยกลง
|
|
ยับ
|
ยั่บ
|
ก.ย่น,ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ
|
|
ร
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
รก
|
ร็อก
|
น.ที่หุ้มตัวเด็กในครรภ์แนบอยู่ในมดลูก
พร้อมสายเลือดที่ติดกับสะดือ;ว.
รุงรัง,เกลื่อนกล่น
|
|
รด
|
ร็อด
|
ก.เท ราด สาด ฉีด
หรือโปรยน้ำหรือของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เปียกหรือให้เปียกชุ่ม เช่น
รดน้ำต้นไม้
|
|
รถจักรยาน
|
ร็อดที้บ
|
น.รถถีบ
|
|
รถจักรยานยนต์
|
ร็อคเขรื่อง,ร็อดมั่ดเต่อไซ
|
น.รถจักรยานที่มีเครื่องยนต์
|
|
รถยนต์
|
ร็อดยนต์
|
น.ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ตามปรกติ 4 ล้อมีหลายแบบหลายชนิดเรียกชื่อต่างๆ กันตามความมุ่งหมายที่ใช้
|
|
รบ
|
ร็อบ
|
ก.สู้กัน, ต่อสู้ในทางศึก, เช่น
ไปรบกับข้าศึกที่ชายแดน, สู้ เช่น รบกับหญ้าไม่ชนะ;
เร้าจะเอาให้ได้ เช่น ลูกรบแม่ให้ซื้อตุ๊กตา
|
|
ร่ม
|
กล็อด,หร่อม
|
น.สิ่งที่ใช้สำหรับกางแดด กันฝนมีด้าม
|
|
ร่ม
|
หร่อม
|
น.บริเวณที่แดดส่องไม่ถึง เช่น ร่มไม้
|
|
ร่วง
|
ล้น
|
ก.หล่น เช่น ใบไม้ร่วง ผลไม้ร่วง, หลุด เช่น
ถูกชกฟันร่วง ผมร่วง
|
|
ร่วน
|
หร่วน
|
ว.ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตกละเอียดได้ง่าย
เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน
|
|
รวบ
|
หรวบ
|
ก.อาการที่เอาสิ่งต่างๆเข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อนเป็นมัด
เป็นกลุ่มเป็นกอง, เอามือทั้ง 2
ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหาตัว เช่น รวบตัว
|
|
ร่วม
|
หร่วม
|
ก.สู่สม, รวม, อยู่ด้วย. ว.เกือบถึง, เกือบหมด, เกือบแล้ว, เกือบสำเร็จ, ด้วยกัน, อันเดียวกัน.
|
|
รส
|
ร็อด
|
น.สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด,
และหมายถึง ความไพเราะ เช่น กลอนบทนี้ไม่มีรส
|
|
รอ
|
ท^า
|
ก.คอย เช่น รอรถ;ยับยั้ง เช่น
รอการพิจารณาไว้ ก่อน;เกือบจด, จ่อ
|
|
รองท้อง
|
รองท่อง
|
ก.กินอะไรเล็กน้อยกันหิวก่อนจะถึงเวลาอาหาร
|
|
ห
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
หงอก
|
ง้อก
|
ว.ขาว (ใช้สำหรับขนหรือผมคน)
|
|
หง่อม
|
งอม
|
ว.แก่มาก ในคำว่า แก่หง่อม
|
|
หงอย
|
เสื่อง
|
ว.ซึมเซา, ไม่ชุ่มชื่น, ไม่กระเปี้กระเปร่า,ไม่ร่าเริง
|
|
หงุดหงิด
|
ย้าบ
|
ว.มีอารมณ์เสียอยู่เสมอๆ เช่น เขาเป็นคนหงุดหงิดง่าย,
มีอารมณ์เสียเพราะไม่ได้ดังใจหรือไม่เป็นตามกำหนด
|
|
หด
|
ห็อด
|
ก.สั้นเข้า,ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น
ทุนหายกำไรหด
|
|
หนวก
|
น้วก
|
ว.อาการที่หูขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง
|
|
หน่วง
|
น้วง
|
ก.ดึงไว้แต่น้อยๆ, เหนี่ยวไว้, ทำให้ช้า, เช่น
หน่วงเรื่องไว้ หน่วงเวลาไว้หน่วงตัวไว้.
อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามีประจำเดือนหรือเป็นบิด
|
|
หนวด
|
น้วด
|
น.ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน,
สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง
หนวดหมึก หนวดแมว
|
|
หน่วย
|
น้วย
|
น.ลูก,ผล, ใบ;
เรียกเลขที่มีตำแหน่งเดียว คือ ตั้งแต่ 1 ถึง 9 ว่า จำนวนหน่วย; จำนวนหรือหมู่ที่นับเป็นหนึ่ง
เช่น หน่วยอนุสภากาชาด
|
|
หน่อ
|
น้อ
|
น.พืชที่งอกจากกองหรือเหง้าของต้นใหญ่
|
|
หนอก
|
น้อก
|
น.เนื้อใต้ท้องน้อย, กล้ามเนื้อที่ต้นคอโค
|
|
หน่อย
|
อี๊ดนึ้ง
|
ว.นิดหนึ่ง, น้อยหนึ่ง, ไม่มาก, เช่น ขอหน่วย เดิน
อีกหน่อยก็ถึง; ประเดี๋ยว , ไม่ช้า , ไม่นาน , เช่น
รอหน่อย กินเหล้ามากๆ อีกหน่อยตาย
|
|
หนาด
|
น้าด
|
น.ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบใหญ่เป็นขน มีกลิ่นฉุน ใช้ทำยา
ถือกันว่าผีกลัวใบหนาด
|
|
หน่าย
|
เบื๊อ
|
ก.เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความรัก
|
|
หนี
|
แหล่น
|
ก.ไปเสียให้พ้น, หลีกไปให้พ้น
|
|
หนี้
|
เน^
|
น.เงินที่กู้ยิมมาจากผู้อื่น;บุญคุณที่ผู้อื่นได้ทำแก่ตน
ซึ่งจะต้องตอบแทน. สิ่งติดค้าง ยังไม่ชำระ
|
|
อ
|
|||
ภาษากลาง
|
ภาษาถิ่นใต้ตากใบ (เจ๊ะเห)
|
ความหมาย
|
|
อ
|
อ๋อ
|
|
|
อก
|
อ็อก
|
น.อวัยวะส่วนหนึ่งระหว่างเหนือท้องกับลำคอ, บางทีเรียก
ทรวงอก;ไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงเรียก ออเลื่อ,
เรียกที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก
|
|
อกไก่
|
อ็อกก๊าย
|
น.ไม้เครื่องเรือนที่พาดบนยอดจั่วหรือเสาดั้ง
ซึ่งคล้ายกับกระดูกอกไก่เมื่อนอนหงาย
|
|
องคุลี
|
อ๋งขู่ลี
|
น.นิ้วมือ;ชื่อมาตราวัด
ยาวเท่ากับนิ้วกลาง
|
|
อดีต
|
เถ่แล่วมา,แตก๊อน
|
ว.ล่วงแล้ว, ผ่านไป
|
|
อธิกรณ์
|
อ๊ะถิก๋อน
|
น.โทษ ปรกติใช้กับ พระภิกษุที่ต้องคดี, เรื่องราว, คดี
, ปัญหา
|
|
อธิการ
|
อ๊ะถิก๋าน
|
น.อำนาจ, การปกครอง, ความบังคับบัญชา, ตำแหน่ง,
หน้าที่, กิจการ, ภาระ, สิทธิ, ใช้เรียกพระสมภารว่า พระอธิการ, ตำแหน่ง
ผูอำนวยการมหาวิทยาลัย.
|
|
อธิบดี
|
อ๊ะทิ่บบ๊อดี๋
|
น.ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, พระเจ้าแผ่นดิน; ชื่อตำแหน่งหัวหน้ากรม
|
|
อนึ่ง
|
ย้างนึ้งหล่าว
|
สัน.อันหนึ่ง, อีกอย่างหนึ่ง, อีกประการหนึ่ง
|
|
อนุญาต
|
นู่หยาด
|
ก.ยินยอม, ยอมให้, ตกลง
|
|
อนุภรรยา
|
เมียน่อย(เสียงยาว)
|
น.เมียน้อย
|
|
อนุศาสน์
|
อ๊ะนู้ช้าด
|
น.การสอน;คำชี้แจง
|
|
อบเชย
|
อ็อบเชย
|
น.ชื่อต้นไม้พวกหนึ่ง เปลือกมีกลิ่นหอม
ใช้ทำยาและปรุงน้ำหอม
|
|
อปโลกน์
|
อุปปโล้ก
|
ก.ยกก้นขึ้นเป็น เช่น อปโลกน์เป็นหัวหน้า, อุปโลกน์
ก็เรียก
|
|
อย่า
|
ยา
|
ว.คำช่วยกริยาบอกความห้ามหรือไม่ยอมให้ทำการต่างๆ
|
|
อยู่
|
โย้
|
ก.พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังคงอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่
เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา
แสดงว่ากำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่
|
|
หมายเหตุ -คำที่ทำเครื่องหมาย “ ^” ไว้เหนือคำ เช่น ภาษากลาง คำว่า “ ข้าว ” ภาษาตากใบ อ่านว่า “ค^าว” ซึ่งออกเสียงผิดกัน (ไม่มีวรรณยุกต์)
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องหมาย “ ^” ไว้เหนือคำ
เพื่อให้ออกเสียงสูงแล้วลดลง จึงจะถูกต้องกับการออกเสียงของภาษาตากใบ
-คำที่ทำเครื่องหมาย “
_” คือ คำที่ออกเสียงไม่ตรงตามพยัญชนะในภาษากลาง
แต่เป็นเสียงภาษาตากใบ โดยเฉพาะ เมื่อหาพยัญชนะเพิ่มเติมไม่ได้
จึงใช้พยัญชนะที่ออกเสียงใกล้เคียงที่สุดมาเทียบแทน และขีดเส้นใต้คำเอาไว้ เช่น
ภาษากลาง คำว่า “ออม” ภาษาตากใบ
อ่านว่า “อ๋อม” เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น